วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง SDRAM กับ DDR




• ขนาดหีบห่อหรือ Package โดย SDRAM มีขนาดหีบห่อที่ 0.8 ม.ม และมีจำนวนขาของแรมชิป ที่ 54 ขา ขณะที่ DDR SDRAM มีขนาด 0.65 ม.ม และมีหีบห่อที่เรียกว่า TSOP ทั้งคู่


• แรงดันไฟเลี้ยง สำหรับ SDRAM กินไฟ 3.3V ส่วน DDR SDARM กินไฟ 2.5V และที่สำคัญ จะอัตราการแกว่งไกวของแรงดันไฟ ที่น้อยมาก


• ลักษณะของ Interface SDRAM ใช้ระบบอินเตอร์เฟสที่เรียกว่า LVTTL ซึ่งมีการใช้สัญญาณประเภท TTL ที่กินแรงดันไฟต่ำ ส่วน DDR SDRAM ใช้ อินเตอร์เฟส แบบ SSTL_2 หรือที่เรียกว่า Stub Series-Terminated Logic เป็นมาตรฐานการ อินเตอร์เฟสสำหรับ หน่วยความจำความเร็วสูง โดยมีคุณลักษณะพิเศษการทำงานแบบ สวิตซ์ชิ่ง ซึ่งจะทำให้หน่วยความจำสามารถทำงานที่ความเร็ว 200 MHz ขึ้นไปเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ซึ่ง DDR SDRAM สามารถทำงานที่ความเร็ว 300 MHz เมื่อเปรียบเทียบกับ ระบบ LVTTL แล้ว DDR SDRAM มีการ เทอร์มิเนต ที่ปลายของเส้นสัญญาณ ทำให้ลดสัญญาณรบกวนได้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นหากทำงานที่ความเร็วสูง


• ขาสัญญาณที่เพิ่มขึ้น DDR SDRAM มีสัญญาณที่เพิ่มขึ้นหลายสัญญาณเมื่อเทียบกับ SDRAM ได้แก่ /CLK DQS VREF DM เป็นต้น • /CLK เป็น สัญญาณที่เรียกว่า Differential Clock Input DDR SDRAM สามารถทำงานประสานกับสัญญาณนาฬิกา 2 สัญญาณ ได้แก่ /CLK และ CLK ซึ่งทำให้การรับสัญญาณนาฬิกาจากภายนอกที่เร็วกว่า และมีสัญญาณรบกวนน้อยมา อีกทั้งมีความแม่นยำสูง ซึ่งจำเป็นมากสำหรับการอินเตอร์เฟสระหว่างระบบที่ควบคุม DDR SDRAM กับ ตัว DDR SDRAM เอง


อ้างอิงจาก http://www.vcharkarn.com/vblog/40889

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ข้อสังเกตเมื่อเมนบอร์ด ชำรุดเสียหาย มีอาการอย่างไร


การตรวจซ่อมเบื้องต้น ท่านต้องตรวจเช็คอุปกรณ์ต่างๆ ภายในเคสทั้งหมดก่อน ทุกอย่างต้องสมบูรณ์ เช่น Power Supply,Ram,Cpu เป็นต้น และควรจะใช้ Debug Card ในการตรวจเช็ค ไม่งั้นท่านต้องมีคอมพ์ และอุปกรณ์ที่ใช้งานได้ไว้สำรอง สำหรับไว้ตรวจเช็คอุปกรณ์ ต่างๆ ว่าสมบูรณ์หรือไม่ ถ้าทุกอย่างสมบูรณ์ให้ดูอาการเสียที่เมนบอร์ด ต่อไปนี้ และอาการเหล่านี้เป็นตัวอย่างอาการเสียที่เมนบอร์ดครับ

ไฟไม่เข้า No Power เปิดไม่ติด No Power ON ไม่ขึ้นภาพ No display พัดลม ไม่หมุน CPU Fan fail ไม่บูตจาก A:,C: Cant boot A:,C: ไบออส เสีย Bios fail ไบออส ไม่จำค่า Bios error เมาส์ คีบอร์ด เสีย PS/2 port fail พอร์ท พรินเตอร์ เสีย LPT fail มองไม่เห็น Ram Ram fail USB ใช้ไม่ได้ USB fail AGP ใช้ไม่ได้ AGP Fail อุปกรณ์ไหม้ Component Burn out ลายวงจรชำรุด ขาด PCB damage JACK DC หัก หลวม โยก เปิดไม่ได้ ทริกไม่ติด พอร์ทต่างๆ โยก หัก หลุด เปิดติด แต่ไม่ขึ้นภาพ ไบออส เสีย ติด Password ไบออส ไม่จำค่า เมาส์ คีบอร์ด ทัชแพด เสีย พอร์ท พรินเตอร์ เสีย ไม่ Detect Ram Sound เสีย จอลาย(ออนบอร์ด)


การเลือกซื้อเมนบอร์ด


การเลือกซื้อเมนบอร์ด
เมื่อไปซื้อเมนบอร์ดจากร้านขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สักแห่งหนึ่ง สิ่งที่คนขายจะบอกคนซื้อคือ เมนบอร์ดนั้นใช้ Chipset อะไร เช่น Intel 430 TX แล้วก็บอกราคา โดยสภาพความเป็นจริงแล้ว การซื้อเมนบอร์ดนั้น เช่นเดียวกัน เราซื้อเมนบอร์ดไม่ได้ซื้อ Chipset Chipset นั้นอาจจะบ่งว่า Chipset นั้นมีคุณสมบัติอย่างไร (ซึ่งเมื่อทราบว่าใช้ Chipset อะไรก็จะโยงใยต่อไปได้ว่า เมนบอร์ดที่ออกแบบมากับ Chipset นั้นควรมีคุณสมบัติเช่นไร) แต่บนเมนบอร์ดนั้น การออกแบบวงจร (PCB) การเลือกใช้ BIOS การสร้างโปรแกรมให้ BIOS มีความสำคัญมาก บางครั้งพบว่าเมนบอร์ดราคาถูกจะเน้นแต่ว่าใช้ Chipset อะไร แต่ไม่ได้เน้นที่คุณภาพของเมนบอร์ดหรือการสร้างโปรแกรม BIOS ให้สอดคล้องกับ Chipset หมายความว่าคุณได้เมนบอร์ดคุณภาพต่ำ และได้ Chipset คุณภาพสูงมาใช้งาน และทั้งสองส่วนไปด้วยกันไม่ได้ อัพเกรดก็ไม่ได้ ใช้ไป 3 เดือน 6 เดือนก็อาจจะเสีย หรือใช้งานได้บ้าง ไม่ได้บ้าง

เมนบอรืดคืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร

เมนบอร์ด (mainboard) หรือที่เรียกอีกชื่อว่า มาเธอร์บอร์ด (Motherboard) คือ แผงวงจรขนาดใหญ่ที่รวบรวมเอาส่วนประกอบหลัก ๆ ที่สำคัญของคอมพิวเตอร์เข้าไว้ด้วยกัน มีลักษณะลักษณะเป็นแผ่น circuit board รูปร่างสีเหลี่ยมผืนผ้า ซึ่งเต็มไปด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ซับซ้อน ดังนั้นเมนบอร์ดจึงเป็นเสมือนกับศูนย์กลางในการทำงานและเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม ฟล็อปปี้ดิสก์ การ์ดต่าง ๆ

ความสำคัญของเมนบอร์ดเหมือน CPU แต่ความสำคัญ อยู่ที่เมนบอร์ดเป็นตัวเชื่อมต่อการทำงานทุกอย่างของเครื่งอคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็น RAM,CPU,หรือแม้แต่การ์ดVGA เป็นต้น ต่างก็ต้องพึ่งพา เมนบอร์ดในการส่งผ่านข้อมูล





















อ้างอิงจาก http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=01f5023d906bf06c

http://www.smiletips.com/knowledge/board_k.asp

วันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หน่วยความจำสำรอง

หน่วยความจำรอง
ส่วนความจำรอง (secondary memory) ใช้เป็นส่วนเพิ่มความจำให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ทำงานติดต่อยู่กับส่วนความจำหลัก ส่วนความจำรองมีความจุมากและมีราคาถูก แต่เรียกหาข้อมูลได้ช้ากว่าส่วนความจำหลัก คือ ทำงานได้ในเวลาเศษหนึ่งส่วนพันวินาที

ขนาดของเครื่องเครื่องคอมพิวเตอร์




ขนาดของคอมพิวเตอร์






คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท คือ


1. Microcomputer หรือ คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สุด ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้กันมาก


คอมพิวเตอร์ประเภทนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ


1. Personal Computers (PCs) เป็นคอมพิวเตอร์ที่เคลื่อนย้ายได้สะดวก


2. Workstations ( สถานีงาน ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง ราคาแพง นิยมนำไปใช้ในงาน
ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์


2. Minicomputer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลและความจุต่ำกว่าระบบเมนเฟรม


3. Mainframe Computer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพต่ำรองจาก Supercomputer มีความเร็วในการประมวลผลสูง


4. Supercomputer เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและสามารถประมวลผลได้เร็วที่สุด มีความจุในการจัดเก็บข้อมูลสูง ส่วนมากจะผลิตขึ้นมาเพื่อใช้งานเฉพาะด้านเท่านั้น


ถ้าแบ่งตามขนาดนั้นคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งแยกตามขนาดของเครื่องได้ดังนี้


คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)


แล็บท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer)


โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer)


ปาล์มท็อปคอมพิวเตอร์ (Palmtop Computer)

อ้างอิง http://www.chandra.ac.th/office/ict/document/it/it01/com_04.htm

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์


"ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามหลักการประมวลผลจำแนกได้เป็น 3 ประเภท คือ
คอมพิวเตอร์แบบแอนะล็อก (Analog Computer)

คอมพิวเตอร์แบบดิจิทัล (Digital Computer)

คอมพิวเตอร์แบบลูกผสม (Hybrid Computer)

ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ

เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานเฉพาะกิจ (Special Purpose Computer)

เครื่องคอมพิวเตอร์เพื่องานอเนกประสงค์ (General Purpose Computer)

ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามความสามารถของระบบจำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด

เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)

ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)

อ้างอิงจาก http://pirun.ku.ac.th/~b4904281/page3.html

ระบบคอมพิวเตอร์




ระบบคอมพิวเตอร์ (Computer System)
ระบบ (System) คือกลุ่มขององค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกัน ซึ่งระบบคอมพิวเตอร์จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประเภท
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ซอฟต์แวร์ (Software)
บุคลากร (Peopleware)

หน่วยวัดความจุของข้อมูลในคอมพิวเตอร์
8 Bit
1 Byte
1 Byte
1 ตัวอักษร
1 KB
1,024 Byte
1 MB
1,024 KB
1 GB
1,024 MB
1 TB
1,024 GB
หน่วยความจำต่ำสุด คือ บิต (BIT [Binary Digit]) โดยใช้บิตแทน 1 ตัวอักขระ หรือ 1 ไบต์ (Bite) หน่วยที่ใหญ่ขึ้นมาอีกหน่วย คือ กิโลไบต์ (Kilobyte) โดยที่ 1 กิโลไบต์ มีค่าเท่ากับ 2 10 ไบต์ หรือ 1,024 ไบต์ หน่วยความจำที่ใหญ่ขึ้นไปอีก เรียกว่า เมกะไบต์ กิกะไบต์ และเทระไบต์
ฮาร์ดดิสก์ ( Hard Disk ) เป็นจานแม่เหล็กชนิดแข็ง ชนิดติดแน่นไม่มีการเคลื่อนที่ สามารถบรรจุข้อมูลได้จำนวนมาก เป็น 2 ขนาด คือ 1. ขนาด 5.25 นิ้ว (ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว) 2. ขนาด 3.5 นิ้ว ทั้ง 2 ขนาดจะมีความจุ ตั้งแต่ 10,20,40,80,120,300,400 MB1 GB,2 GB ฯลฯ ปัจจุบันนิยมใช้ตั้งแต่ 10 GB ขึ้นไป
Hard disk
Data Rate หมายถึง ความเร็วในการอ่านข้อมูลจากดิสก์ไปสู่สมองของเครื่องคอมพิวเตอร์ (หรือมีความเร็วในการนำข้อมูลมาจากสมองเครื่องไปบันทึกลงบนดิสก์) มีหน่วยวัดเป็น จำนวนไบต์ต่อวินาที ( Bytes Per Second หรือ bps )
ซีดีรอม (CD-Rom ) เป็นจานแสงชนิดหนึ่ง ใช้เก็บข้อมูลที่มีความเร็วในการใช้งานสูง มี
คุณสมบัติดังนี้
เป็นสื่อที่สามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก โดยจะมีความจุสูงถึง 2 GB (2 พันล้านไบต์)
มีขนาดเล็ก สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก
ใช้เทคโนโลยีของแสงเลเซอร์ในการอ่านเขียนข้อมูล
เป็นจานแสงชนิดอ่านได้อย่างเดียว ( Read Only Memory ) ไม่สามารถเขียนหรือลบข้อมูลได้
CD - ROM3. หน่วยแสดงผล (Output Unit) ทำหน้าที่แสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลของเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือใช้เก็บผลลัพธ์เพื่อนำไปใช้ภายหลัง ได้แก่ จอภาพ (Monitor) เป็นอุปกรณ์ส่งออกมากที่สุด เครื่องพิมพ์ (Printer)
ซอฟแวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมชุดคำสั่งที่เขียนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม ซึ่งมี 2ประเภท คือ
ซอฟแวร์ควบคุมระบบ (System Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยในการจัดการทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ ได้แก่ โปรแกรมควบคุมเครื่อง ระบบปฏิบัติการ เช่น DOS, Windows, Os/2, Unix
ซอฟแวร์ประยุกต์ (Application Software) คือ ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ ได้แก่ โปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ
บุคลากร (Peopleware) หมายถึง บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการใช้และดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) เป็นต้น

การแปลงไฟล์

ขั้นแรก ให้เลือกไฟล์หนังจาก Youtube
ขั้นที่สอง เมื่อได้ URL ที่ต้องการมาแล้วให้เป็นที่ ListenToYoutube
เสร็จแล้วให้คลิ๊กที่ปุ่ม “Go”ตัวเว็บไซด์นี้จะทำการโหลดไฟล์ .flv ซึ่งเป็นไฟล์วีดีโอมาเก็บไว้ที่ server ของทางเว็บแล้วทำการ extract ไฟล์เพลงเป็น mp3 ออกมาจากนั้นให้คลิ๊กที่คำว่า Download mp3 ดังรูปเป็ันอันเสร็จเรียบร้อย